ประเภท ลักษณะ ที่มา โทษ ภูมิคุ้มกัน แหล่งรักษา กฎหมาย หน้าแรก

 

ประวัติความเป็นมาของยาเสพติดแต่ละชนิด

1.ฝิ่น
ฝิ่น เป็นยาเสพติดให้โทษที่สำคัญชนิดแรกที่แพร่เข้ามาสู่ประเทศไทย แต่จะเข้ามาตั้งแต ่เมื่อใดไม่ ปรากฏหลักฐานยืนยัน จากการสันนิษฐานทางประวัติศาสตร์ น่าเชื่อว่าคนไทยได้รับอิทธิพลถ่ายทอดเกี่ยวกับเรื่องฝิ่นมาจากชาวจีน ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น เนื่องจากมีสำเภาจีนเดินทางบรรทุกสินค้าเข้ามาค้าขายกับคน ไทยจนเป็นที่นิยมในกรุงศรีอยุธยา จนสืบเนื่องมาถึงกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นก็ยังคงมีการจำหน่ายและเสพฝิ่นกันอย ู่อย่างแพร่หลายโดยรัฐบาล เพียงแต่เข้มงวดในเรื่องการควบคุมภาษีฝิ่นเท่านั้น แต่ยังมีคนไทยลักลอบซื้อขาย และสูบฝิ่นกันอยู่จำนวนมาก
ต่อมาในปี พ.ศ.2501 คณะปฏิวัติภายใต้การนำของ ฯพณฯจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ เห็นสมควรให้การเสพและจำหน่ายฝิ่นในประเทศไทยเป็นสิ่งผิดกฎหมาย และได้มีประกาศของคณะปฏิวัติให้เลิกการเสพและจำหน่ายฝิ่นโดยเด็ดขาดทั่วราช อาณาจักรตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2502 เป็นต้นไป



 2. เฮโรอีน
เนื่องจากเฮโรอีนออกฤทธิ์ได้ไวและแรงกว่ามอร์ฟีนและฝิ่น วงการแพทย์จึงได้นำเฮโรอีนมาใช้เป็น ยาระงับอาการเจ็บปวดของ ทหารในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 เมื่อปี ค.ศ.1898 (พ.ศ.2441) ต่อมาพบว่าเฮโรอีนทำให้เกิดการเสพติดและ ทำให้เกิดผลข้างเคียงที่เป็นโทษอย่างร้าย แรงจึงเลิกนำมาใช้ โดยสหรัฐอเมริกาได้ออกกฎหมายระบุให้เฮโรอีนเป็นยาเสพติดให้โทษ ห้ามมิให้ผู้ใดมีไว้ในครอบครอง เมื่อปี ค.ศ.1924 (พ.ศ.2467)
หลังจากนั้นต่อมาอีก 35 ปี คือ เมื่อปี พ.ศ. 2502 เฮโรอีนจึงได้แพร่ระบาดสู่ประเทศไทย และในปี พ.ศ. 2504 ประเทศไทยจึงออกกฎหมายระบุให้เฮโรอีนและมอร์ฟีนเป็นยาเสพติดให้โทษ

3.สารระเหย
สารระเหยคือสารที่ได้จากขบวนการผลิตน้ำมันปิโตรเลียม การเสพสารระเหย Hydrocarbon ในรูปของ อีเธอร์ (ether) ได้มีมานานแล้วในยุโรป อังกฤษ และอเมริกาเหนือ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2343 (ค.ศ.1800) ส่วนการสูดดมกาวติดพลาสติกและน้ำยาล้างเล็บ เริ่มแพร่หลายมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2503 (ค.ศ.1960) ต่อมามีการผลิตน้ำยาพ่นฝอย (Aerosol Spray)ขึ้นมาใช้อย่างแพร่หลาย ที่นิยมมากที่สุด ได้แก่ กาวหรือซีเมนต์ที่ใช้สำหรับติดเครื่องบินเด็กเล่น
ในประเทศไทย เริ่มพบว่ามีการนำเอาทินเนอร์ไปสูดดมตั้งแต่ปี พ.ศ.2520 เนื่องจากหาง่ายเพราะมีใช้กันอย่างแพร่หลายในทางอุตสาหกรรม และราคาถูกกว่า และสมัยก่อนยังไม่มีกฎหมายควบคุม ต่อมาในปี พ.ศ.2524 รัฐบาลตระหนักถึงปัญหา จึงได้ให้กระทรวงสาธารณสุขออกกฎหมายแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติ ยาเสพติดให้โทษมีบทบัญญัติว่า ผู้ใดเสพสารใดซึ่งอาจทำลายสุขภาพได้เข้าสู่ร่างกายจนเกิดอาการติดสารนั้น ให้ได้รับโทษ ต่อมาในปี พ.ศ.2533 จึงได้ประกาศใช้พระราชกำหนดป้องกันการใช้สารระเหยขึ้นเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2533 สาระสำคัญเน้นหลักการใหญ่ 4 ประการคือ การควบคุม การป้องกัน การปราบปราม และการบำบัด
4.ยากล่อมประสาท ยานอนหลับ
ยากล่อมประสาทเป็นยาที่แพทย์ให้กับคนไข้ที่มีความผิดปกติของระบบประสาทยาจะ ช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดของสมอง ทำให้จิตใจสงบ  หายวิตกกังวล ยาพวกนี้มีฤทธิ์กดสมองไม่มากไม่ถึงที่จะทำให้หมดสติ ยาพวกนี้มีอยู่ด้วยกันหลายชนิด  แต่ละชนิดฤทธิ์กดสมองมากน้อยต่างกัน  บางพวกมีฤทธิ์แรง บางพวกมีฤทธิ์อ่อน

5.ยาอี ยาเลิฟ เอ็กซ์ตาซี่ (Ecstasy)เป็นยาเสพติดกลุ่มเดียวกันแต่จะแตกต่างกันบ้างในด้าน โครงสร้างทางเคมี มีการลักลอบนำเข้ามาในประเทศไทย โดยกลุ่มนักค้าชาวต่างประเทศ และกลุ่มคนไทยที่ไปศึกษาต่อที่ต่างประเทศ

6.กระท่อมกระท่อมเป็นพืชเสพติดชนิดหนึ่ง ส่วนมากพบในทวีปเอเชีย โดยเฉพาะในประเทศอินเดียและในประเทศไทย กระท่อมไม่ขึ้นแพร่หลายทั่วไป จึงไม่เป็นที่รู้จักมักคุ้นกับชาวตะวันตก และอเมริกา ดังนั้น จึงไม่มีชื่อเป็นภาษาต่างประเทศ แต่เรียกชื่อทับศัพท์ตามภาษาไทยว่า Kratom
7.กัญชากัญชา เป็นพืชพันธุ์ไม้ล้มลุกชนิดหนึ่งขึ้นได้เกือบทั่วโลก ต้นกัญชาสามารถนำมาใช้เป็นยาเสพติดได้เกือบทุกส่วน มนุษย์รู้จักกัญชาและเสพกันมานาน ประมาณ 4,000-5,000 ปีมาแล้ว แต่เดิมเข้าใจกันว่ากัญชาปลูกขึ้นได้ในประเทศที่มีอากาศร้อน เช่น ในทวีปอาฟริกาและเอเชีย ต่อมาได้ทดลองนำกัญชาจากอาฟริกาใต้ไปปลูกในนอร์เวย์ และไอซแลนด์ซึ่งมีอากาศหนาว กัญชาก็ปลูกขึ้นได้ดีและมีสารตัวสำคัญที่ทำให้กัญชามีฤทธิ์ คือ เตตราไฮโดรแคนนาบินอล (Tetrahydrocannabinal) อยู่มากด้วย ดังนั้นกัญชาจึงสามารถปลูกขึ้นได้ทั่วโลกอาจมีชื่อเรียกต่างกันไปในแต่ละประเทศ
8.ยาบ้า  ยาบ้า เป็นชื่อที่กระทรวงสาธารณสุขตั้งขึ้นแทนชื่อ ยาม้า เมื่อไม่กี่ปีมานี้เอง แต่เดิมนิยมเรียกว่า ยาม้า เพราะมาจากเครื่องหมายการค้าของบริษัท WELLCOME ซึ่งเป็นบริษัทแรกที่ส่งยาชนิดนี้มาขายในประเทศไทย ยาบ้ามีสารประกอบหลักในกลุ่ม Amphetamine เป็นยาอันตรายที่แพร่หลายทั่วไปทั้งในสหรัฐอเมริกา ยุโรป และเอเชีย เพราะผลิตง่าย และมีความต้องการของตลาด โดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่น 
  Amphetamine เป็นสารที่ถูกสังเคราะห์ขึ้นมาในปี ค.ศ.1887 โดยนักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน ชื่อ เอเดเลียโน (EDELENO) ในรูปของแอมเฟตามีนซัลเฟต (Amphetamine Sulfate) ต่อมาในปี ค.ศ.1888 นักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่นก็สามารถสังเคราะห์อนุพันธ์ของแอมเฟตามีนได้อีกตัวหนึ่งคือ เมทแอมเฟตามีน (Methamphetamine) ซึ่งมีผลต่อระบบประสาทส่วนกลางได้รุนแรงกว่า แอมเฟตามีนและยาบ้าที่ระบาดในประเทศไทยขณะนี้ก็มีสาร ประกอบหลักเป็นเมทแอมเฟตามีนนี้เอง

ในอดีตที่ประเทศสหรัฐอเมริกา แอมเฟตามีนถูกใช้เป็นยารักษาโรคหลายชนิด ที่นิยมแพร่หลายเป็นยาดมแก้หวัด คัดจมูก ชื่อ ยาเบนซีดริน (Benzedrine) มีไส้กระดาษชุบด้วยน้ำยา บรรจุไว้ในหลอดให้สูดดม แต่ก็มีผู้นำมาใช้ในทางที่ผิดเพื่อกระตุ้นร่างกาย และลดความอ้วน โดยนำไส้กระดาษซับมาจุ่มน้ำ เพื่อละลายตัวยาแล้วนำมาใช้กินแทน ต่อมามีการผลิตแอมเฟตามีนอยู่ในในรูปยาเม็ดใช้กันอย่างแพร่หลายจนกลาย เป็นยาสามัญประจำบ้าน ไม่ต้องมีใบสั่งยาก็ซื้อหามาใช้ได้ ในขณะนั้นมีการโฆษณาสรรพคุณของ แอมเฟตามีนว่าสามารถรักษาโรคได้หลายโรค เช่น โรคจิต โรคประสาท เป็นต้น โดยไม่ได้ตระหนักถึงฤทธิ์ของยาที่ทำให้เสพติดกันมากนัก และมีประชาชนจำนวนมากที่นำมาใช้ในทางที่ผิด จนกระทั่งในปี ค.ศ.1939 สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐอเมริกาประกาศให้ยาจำพวก แอมเฟตามีนเป็นยาควบคุม ซึ่งต้องมีใบสั่งยาจากแพทย์จึงจะซื้อได้ ทำให้การใช้ยาชนิดนี้ลดน้อยลงจากท้องตลาด และเริ่มมีการผลิตและจำหน่ายอย่างผิดกฎหมายอย่างแพร่หลาย
9.มอร์ฟีนมอร์ฟีน เป็นอนุพันธ์ของฝิ่น ชาวเยอรมันชื่อ SERTURNER เป็นผู้สกัดจากฝิ่นเมื่อปี ค.ศ.1803 (พ.ศ.2346) ได้เป็นครั้งแรก แต่ในปัจจุบันนี้มอร์ฟีนสามารถทำขึ้น ได้โดยการสังเคราะห์ด้วยกรรมวิธีทางเคมีแล้ว มอร์ฟีนเป็นยาเสพติดให้โทษที่เสพติดได้ง่ายมาก และการงดเสพจะทำได้ยากต้องใช้เวลานานเท่าฝิ่นหรือนานกว่าฝิ่น ทั้งนี้แล้วแต่สภาพของบุคคล ปริมาณในการเสพ และระยะเวลาในการเสพ มอร์ฟีนได้ถูกนำมาใช้เป็นยาระงับปวด ซึ่งวงการแพทย์ทั่วไปนำไปใช้ภายหลังการผ่าตัด กระดูกหัก ถูกไฟไหม้ และใช้ระงับปวดในระยะท้ายๆของโรคมะเร็ง แต่แพทย์เท่านั้นที่สามารถใช้ได้โดยถูกต้องตามกฎหมาย 
ส่วนบุคคลที่นำมาใช้เองโดยแพทย์มิได้สั่งถือว่าผิดกฎหมาย และผู้ใช้มอร์ฟีนโดยพละการเพื่อระงับปวดได้กลายเป็นผู้ติดมอร์ฟีนไป ทำให้ต้องใช้มอร์ฟีนเพื่อระงับปวดต่อไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด
10.ยาเคยาเค เป็นยาที่มีอันตรายสูงที่แพทย์จะจ่ายให้กับผู้ป่วยเฉพาะเมื่อมีความจำเป็นจริงเท่านั้น ยาเคถูกสังเคราะห์ขึ้นเพื่อประโยชน์ในทางการแพทย์โดยใช้เป็นยาสลบมีชื่อ เรียกในวงการแพทย์ว่า "KETAMINEHLการนำไปใช้นั้นปกติแพทย์จะ ใช้ฉีดเข้าเส้นเลือดในอัตรา 1 ถึง 2 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม โดยยาจะออกฤทธิ์ทำให้หมดสติภายในเวลา 1 นาที หรืออาจใช้ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ แต่วิธีนี้จะใช้ปริมาณยามากกว่าการฉีดเข้าเส้นเลือดประมาณ 3 เท่า อาการหมดสติจากการใช้ยาเคจะเป็นอยู่นานประมาณ 10 - 15 นาที เท่านั้น ด้วยเหตุนี้ยาเคจึงถูกนำมาใช้ในกรณี ของการผ่าตัดที่ใช้ระยะเวลาสั้น ๆ หรือใช้ทำให้ผู้ป่วยสลบก่อนที่จะผ่านไปสู่การใช้ยาสลบชนิดอื่น

 

กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา

จัดทำโดย...นายไชยา  เฉลียวพงษ์  อาจารย์ 1 โรงเรียนปากคาดพิทยาคม อำเภอปากคาด จังหวัดหนองคาย